กิจกรรม 22 พฤศจิกายน 2553

1. ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ลงในสมุดงานบันทึกคะแนนที่ได้
สืบค้น: ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากศูนย์กลางดาราจักรทางช้างเผือกเป็นระยะทางโดยประมาณ 26,000 ปีแสง ใช้เวลาโคจรครบรอบดาราจักรประมาณ 225-250 ล้านปี มีอัตราเร็วในวงโคจร 215 กิโลเมตรต่อวินาที หรือ 1 ปีแสง ทุกๆ 1,400 ปี
ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C
ตอบข้อ: 1 ระยะทางจากดวงอาทิตย์ถึงดาวที่ขอบนั้น 
สืบค้น:  หินภูเขาไฟ (Volcanic rock)หรือ หินอัคนีพุ (Extrusive rock) เกิดขึ้นเมื่อหินร้อนเหลวหรือแมกมาถูกดันและปะทุออกมานอกเปลือกโลก ซึ่งอาจจะออกมาตามรอยแตก หรือระเบิดออกมาเป็นภูเขาไฟกลายเป็นลาวา ลาวาจะเย็นตัวอย่างรวดเร็ว และแข็งตัวเป็นหินซึ่งมีผลึกขนาดเล็กถึงเล็กมาก ส่วนใหญ่จะมองไม่เห็นรูปของผลึกด้วยตาเปล่า ลาวาที่ถูกขับมาจากส่วนลึกของเปลือกโลกจะประกอบด้วยแร่ที่มีธาตุเหล็กและแมกนีเซียมสูง เมื่อแข็งตัวก็จะได้หินภูเขาไฟสีดำ ลาวาที่ถูกขับออกมาจากเปลือกโลกในระดับความลึกไม่มากนัก จะกลายเป็นหินภูเขาไฟสีอ่อน
ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%9F
ตอบข้อ: 3 อัตราการเย็นตัวของลาวา
สืบค้น:  ยอดเขาเอเวอเรสต์ (Mount Everest) เป็นยอดเขาหนึ่งในเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียนและแผ่นเปลือกโลกอินเดีย
ที่มา: http://worldtravelhit.blogspot.com/2009/12/blog-post_30.html
ตอบข้อ: 3 การชนกันของเเผ่นเปลือกโลก
สืบค้น:  หินดินดานเป็นหินที่ประกอบด้วยตะกอนที่มีขนาดละเอียดเป็นส่วนใหญ่ หินดินดานที่เหมาะสำหรับใช้ในการผลิตปูนซีเมนต์ควรเป็นหินที่มีอะลูมินา ตั้งแต่ประมาณ 25% ขึ้นไป มีซิลิกาน้อยกว่า 60% และมีเหล็กออกไซด์อยู่ในปริมาณเล็กน้อย โรงงานปูนซีเมนต์บางแห่งใช้ดินเหนียวท้องนาเป็นวัตถุดิบด้วย เพื่อเพิ่มปริมาณอะลูมินาที่มาจากแร่ดินให้กับส่วนผสม  การกำเนิด  หินดินดานอาจตกตะกอนได้ในสภาพแวดล้อมที่มีพลังงานของน้ำซึ่งเป็นตัวกลางในการพัดพาต่ำหลายบริเวณ ทั้งในทะเลและบนพื้นทวีป หินดินดานโดยทั่วไปประกอบด้วยแร่ควอรตซ์  แร่ดินต่าง ๆ (เคโอลิไนต์ อิลไลต์ ฯลฯ) แร่อื่น และอินทรียสาร ในปริมาณเล็กน้อย  แหล่งในประเทศ  หินดินดานซึ่งใช้กันแพร่หลายในการผลิตปูนซีเมนต์ในประเทศมักจะอยู่ใกล้กับแหล่งหินปูน   โดยส่วนมากจะเป็นช่วงชั้นที่รองรับหรือแทรกสลับหินปูนอยู่ทั้งนี้เนื่องจากสภาพแวดล้อมในการ   ตกตะกอนที่เปลี่ยนแปลงไปมาในช่วงเวลานั้นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดได้แก่ลำดับชั้นในหินยุคเพอร์เมียน ตอนกลางโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที ่จังหวัดสระบุรีและบริเวณใกล้เคียง (ชัยยันต์ หินทอง, 2524) หรือบริเวณจังหวัดลำปาง   (พลเชาว์ดำรงค์,2535)   ซึ่งโรงงานปูนซีเมนต์มีหน้าเหมืองหินปูนและหินดินดาน อยู่ในบริเวณเดียวกัน 
ที่มา: http://www.dmr.go.th/ewt_news.php?nid=599&filename=min1
ตอบข้อ: 4 หินดินดาน
สืบค้น: ประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นยูเรเซียน ซึ่งล้อมรอบด้วยแผ่นเปลือกโลกสองแผ่น...แผ่นมหาสมุทรอินเดีย กับแผ่นมหาสมุทรแปซิฟิก มักเกิดแผ่นดินไหวมากตรงรอยต่อระหว่างแผ่น ที่มา: http://www.google.co.th/search?sourceid=navclient&ie=UTF-8&rlz=1T4AMSA_enTH401&q=%e0%b9%80%e0%b9%80%e0%b8%9c%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%a2%e0%b8%b9%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%8b%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b9%80%e0%b8%9c%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b5%e0%b8%a2
ตอบข้อ: 2 เเผ่นยูเรเซียนกับเเผ่นอินเดีย
สืบค้น: แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (แนวระหว่างรอยต่อธรณีภาค) ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของชั้นหินขนาดใหญ่เลื่อน เคลื่อนที่ หรือแตกหักและเกิดการโอนถ่ายพลังงานศักย์ ผ่านในชั้นหินที่อยู่ติดกัน พลังงานศักย์นี้อยู่ในรูปคลื่นไหวสะเทือน จุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว (focus) มักเกิดตามรอยเลื่อน อยู่ในระดับความลึกต่าง ๆ ของผิวโลก เท่าที่เคยวัดได้ลึกสุดอยู่ในชั้นแมนเทิล
ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A7
ตอบข้อ: 4 การเคลื่อนตัวของเเผ่นเปลือกโลก
สืบค้น: หินชั้นเป็นหินที่เกิดจากกระบวนการผุกร่อนในธรรมชาติของหินเก่าชนิดต่างๆ ที่ถูกกระแสน้ำ ธารน้ำแข็งหรือลมพัดพามาทับถมกันในบริเวณหนึ่งซึ่งมักเป็นแอ่งหรือที่ราบต่ำเช่นพื้นแม่น้ำ หรือพื้นท้องทะเลเป็นชั้นๆ เศษหิน ทราย โคลนและดินเหนียวเหล่านี้จะมีการอัดตัวกันแน่นเข้าเนื่องจากการทับถมกันเป็นเวลานาน และตามช่องว่างจะมีตัวประสานเข้าไปแทรกแล้วเกิดการตกผลึกประสานเศษหิน หรือตะกอนเข้าด้วยกันเกิดเป็นหินชั้นขึ้น อย่างไรก็ดีหินชั้นเป็นหินที่เกิดการผุพังสึกกร่อนได้ง่าย จึงจัดหินประเภทนี้เป็นหินเนื้ออ่อนหินชั้นยังอาจเกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์ ซึ่งเรียกว่า ฟอสซิล หรือ ซากดึกดำบรรพ์ที่มา: http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/sakaew/wanchana_k/rocks/sec02p01.html
ตอบข้อ: 4 หินตะกอน
สืบค้น: นักธรณีวิทยาตระหนักมานานแล้วว่า โลกมีแหล่งพลังงานอยู่ภายใน พลังงานภายในเหล่านี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกเช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด และการเกิดภูเขา และเมื่อประมาณ 40 ปีมาแล้ว นักธรณีวิทยาเพิ่งจะเข้าใจว่าปรากฏการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีเพียงหนึ่งทฤษฎี นั่นคือ ทฤษฎีการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (plate tectonics)
ที่มา: http://www.thaispaceweather.com/IHY/Earth/Earth_continental_drift.htm
ตอบข้อ: 3 ชั้นเนื้อโลก

2 ความคิดเห็น: