กิจกรรม 15 พฤศจิกายน 2553

1. ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ลงในสมุดงานบันทึกคะแนนที่ได้
 2. ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูล พร้อมที่มาของแห่งข้อมูลลงใน Blog ของตนเอง กำหนดส่งท้ายคาบเรียนที่ 2 ดังนี้

สืบค้นข้อมูล: ในระบบสุริยะประกอบด้วยดาวเคราะห์ 9 ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวมฤตยู (ยูเรนัส) ดาวเกตุ (เนปจูน) และดาวยม (พลูโต) ซึ่งหมุนรอบตัวเองพร้อม ๆ กับโคจรรอบดวงอาทิตย์ แต่ละดวงจะมีขนาดและระยะห่างจากดวงอาทิตย์แตกต่างกัน
รายชื่อดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ(เรียงตามระยะห่างจากดวงอาทิตย์)
     > ดาวพุธ
     > ดาวศุกร์
     > โลก
     > ดาวอังคาร
     > ดาวพฤหัสบดี
     > ดาวเสาร์
     > ดาวยูเรนัส
     > ดาวเนปจูน

ที่มา:  http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science03/06/star/planet.html
          http://blog.eduzones.com/montra/2849
ตอบข้อ: 2  ดาวศุกร์

สืบค้นข้อมูล: ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ยักษ์ เพราะมีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่าโลก 11.2 เท่า นอกจากนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นดาวเคราะห์ก๊าซ เพราะมีองค์ประกอบเป็นก๊าซไฮโดรเจนและฮีเลียมคล้ายในดวงอาทิตย์ ความหนาแน่นของดาวพฤหัสบดีจึงต่ำ (1.33 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร) เมื่อดูในกล้องโทรทรรศน์ จะเห็นเป็นดวงกลมโตกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ พร้อมสังเกตเห็นบริวาร 4 ดวงใหญ่เรียงกันอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตรด้วย กาลิเลโอเป็นนักดาราศาสตร์คนแรกที่ใช้กล้องส่องพบบริวารสี่ดวงใหญ่นี้ จึงได้รับเกียรติว่าเป็นดวงจันทร์ของกาลิเลโอ
ที่มา:  http://www.prc.ac.th/Astronomy/Jupiter.htm
ตอบข้อ: 2 ไฮโดรเจนและฮีเลียม
สืบค้นข้อมูล: ตามการศึกษาแบบจำลองคอมพิวเตอร์ว่าด้วยวัฏจักรดาวฤกษ์ นักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่าดวงอาทิตย์มีอายุประมาณ 4,570 ล้านปี[7] ในขณะนี้ดวงอาทิตย์กำลังอยู่ในลำดับหลัก ทำการหลอมไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม โดยทุกๆ วินาที มวลสารของดวงอาทิตย์มากกว่า 4 ล้านตันถูกเปลี่ยนเป็นพลังงาน ดวงอาทิตย์ใช้เวลาโดยประมาณ 1 หมื่นล้านปีในการดำรงอยู่ในลำดับหลัก
เมื่อไฮโดรเจนซึ่งเป็นเชื้อเพลิงของดวงอาทิตย์หมดลง วาระสุดท้ายของดวงอาทิตย์ก็มาถึง (คือการพ้นไปจากลำดับหลัก) โดยดวงอาทิตย์จะเริ่มพบกับจุดจบคือการแปรเปลี่ยนไปเป็นดาวยักษ์แดงภายใน 4-5 พันล้านปี ผิวนอกของดวงอาทิตย์ขยายตัวออกไป ส่วนแกนนั้นยุบตัวลงและร้อนขึ้นสลับกับเย็นลง มีการหลอมฮีเลียมเป็นคาร์บอนและออกซิเจนที่อุณหภูมิราว 100 ล้านเคลวิน จากสถานการณ์ข้างต้นดูเหมือนว่าดวงอาทิตย์จะกลืนกินโลกให้หลอมลงไปเป็นเนื้อเดียวกัน
      หลังจากที่ดวงอาทิตย์ได้ผ่านสภาพการเป็นดาวยักษ์แดงแล้ว อุณหภูมิจากปฏิกิริยาการหลอมฮีเลียมที่เพิ่มสลับกับลงภายในแกน ก็จะเป็นตัวการให้ผิวดวงอาทิตย์ด้านนอกผละตัวออกจากแกน เกิดเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ แล้วอันตรธานไปในความมืดมิดของอวกาศ และเป็นวัสดุสำหรับสร้างดาวฤกษ์และระบบสุริยะรุ่นถัดไป ส่วนแกนที่เหลืออยู่ก็จะกลายเป็นดาวแคระขาวที่ร้อนจัดและมีแสงจางมาก ก่อนจะดับลงกลายเป็นดาวแคระดำ จากทั้งหมดที่กล่าวมานี้คือชีวิตของดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อยถึงปานกลาง
ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C
ตอบข้อ: 4 ดาวนิวตรอน

สืบค้นข้อมูล: อันดับความสว่าง (brightness) ของดาวฤกษ์ เป็นตัวเลขที่กำหนดขึ้นเพื่อแสดงการรับรู้ความสว่างของผู้สังเกตดาวฤกษ์ด้วยตาเปล่า ดาวที่มองเห็นสว่างที่สุดมีอันดับความสว่างเป็น 1 และดาวที่เห็นสว่างน้อยที่สุดมีอันตับความสว่างเป็น 6 นั่นคือดาวยิ่งมีความสว่างน้อย อันดับความสว่างยิ่งสูงขึ้น หรืออยู่อันดับท้าย ๆ ส่วนดาวสว่างมากอยู่อันดับต้น ๆ
ที่มา: http://www.anek2009.ob.tc/earth_astro/eart12.htm
ตอบข้อ: 4 ดาว D มีอันดับความสว่าง -2
 สืบค้นข้อมูล:  ปีแสง คือ หน่วยของระยะทางในทางดาราศาสตร์ 1 ปีแสง เท่ากับระยะทางที่แสงเดินทางในเวลา 1 ปี
ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87
ตอบข้อ: 1 ระยะทางที่เเสงใช้เดินทาง 1 ปี
สืบค้นข้อมูล: ซูเปอร์โนวา หรือ มหานวดารา เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ระเบิดที่มีพลังมากที่สุดที่รู้จัก นั่นคือเป็นการระเบิดของดาวฤกษ์มวลมากเมื่อสิ้นอายุไขแล้ว จะเปล่งแสงสว่างมหาศาลและระเบิดออกรัศมีสว่างวาบเป็นรัศมีเพียงชั่วครู่ ก่อนจะเลือนจางลงในเวลาสัปดาห์หรือเดือนเท่านั้น
ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8B%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B2
ตอบข้อ: 2 การระเบิดซูเปอร์โนวา

สืบค้นข้อมูล: สีของดาวฤกษ์นอกจากจะบอกอุณหภูมิของดาวฤกษ์แล้ว ยังสามารถบอกอายุของดาวฤกษ์ด้วย ดาวฤกษ์ที่มีอายุน้อยจะมีอุณหภูมิที่ผิวสูงและมีสีน้ำเงิน ส่วนดาวฤกษ์ที่มีอายุมากใกล้ถึงจุดสุดท้ายของชีวิตจะมีสีแดงที่ เรียกว่า ดาวยักษ์แดง มีอุณหภูมิผิวต่ำ ดาวฤกษ์แต่ละดวงจะมีสิ่งที่เหมือนกัน คือ องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ธาตุไฮโดรเจน และธาตุฮีเลียม พลังงานของดาวฤกษ์ทุกดวงเกิดจากปฏิกิริยาเทอร์มอนิวเคลียร์ที่แก่นกลาง ของดาว แต่สิ่งที่ต่างกันของดาวฤกษ์ ได้แก่ มวล อุณหภูมิผิว ขนาด อายุ ระยะห่างจากโลก สี ความสว่าง ธาตุที่เป็นองค์ประกอบ และวิวัฒนาการที่ต่างกัน
ที่มา: http://www.krugoo.net/archives/715
ตอบข้อ: 2 มีเเสงสีเเดง

อันดับความสว่าง
ตัวอย่าง

- 26.7
- 4.5
- 3.5
- 2.7
- 2.5
- 1.5
- 1.5
- 1.4
- 0.5
- 1
0
1
1.2
1.6
2.6
3
6

ดวงอาทิตย์
ดาวศุกร์เมื่อสว่างที่สุด
ดาวศุกร์เมื่อริบหรี่ที่สุด
ดาวอังคารเมื่อสว่างที่สุด
ดาวพฤหัสบดีเมื่อสว่างที่สุด
ดาวพุธเมื่อสว่างที่สุด
ดาวซีรีอุส
ดาวพฤหัสบดีเมื่อริบหรี่ที่สุด
ดาวเสาร์เมื่อสว่างที่สุด
ดาวฤกษ์ประมาณ 20 ดวง
ดาวฤกษ์ประมาณ 20 ดวง
ดาวฤกษ์ประมาณ 20 ดวง
ดาวเสาร์เมื่อริบหรี่ที่สุด
ดาวอังคารเมื่อริบหรี่ที่สุด
ดาวพุธเมื่อริบหรี่ที่สุด
ดาวฤกษ์ริบหรี่ที่สุด มองเห็นได้ในเมืองใหญ่
ดาวฤกษ์ริบหรี่ที่สุด มองเห็นได้ในชนบท
หมายเหตุ
       อันดับความสว่างของดาวฤกษ์ ต่างกัน 1 จะมีความสว่างต่างกัน 2.5 เท่า
http://202.143.128.66/webkru/apchart/dara/theme_2_1.htmlตอบข้อ: 3.  6.25


เว็บไซค์ที่เกี่ยวข้อง
1. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B0
2. http://www.thaispaceweather.com/IHY/Stars/star.htm
3. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%9F%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B5
4. http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/chanthaburi/wassana_s/science_p_01/sec01p030.html
5. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1
6. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2
7. http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/phayao/oraphin_s/darasat/section2_p02.html
8. http://www.space.mict.go.th/knowledge.php?id=apps_2_1
9. http://www.anek2009.ob.tc/earth_astro/eart4.htm
10. http://www.mongkoldham.com/text%5CsanRMC_519.pdf

2 ความคิดเห็น: